วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

บทสวดท่องก่อนบวชพระ บวชนาค

เมื่อมอบตัวแล้วต้องจัดเตรียมหาเครื่องบวชคือ บริขาร ๘ ดังมีในบาลี ดังนี้
ติจีวรญฺจ ปตฺโต จ วาสี สจิ จ พนฺธนํ ปริสฺสาวเนนทฏฺเฐเต ยุตุตโยคสฺส ภิกฺขุโน ได้แก่ ไตรจีวร บาตร พร้อมทั้งถลกบาตร มีด (มีดโกน) พร้อมหินลับมีด เข็มพร้อมทั้งกล่องและด้าย ประคตเอวรวมอยู่กับไตรจีวร และกระบอกกรองน้ำ

เครื่องใช้อย่างอื่นเป็นส่วนประกอบในการบวช เช่น เสื่อ หมอน มุ้ง ร่ม รองเท้า ถุงย่าม กาน้ำ จาน ช้อน แปรง ยาสีฟัน สบู่ ขันน้ำ เครื่องใช้สำรอง เช่น ผ้าอาบน้ำ สบง ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาวสำหรับนาคนุ่งวันบวช อย่างละหนึ่งผืน

สำหรับไทยทาน ควรจัดไทยทานสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์หนึ่งที่ สำหรับถวายพระคู่สวดสองที่ และสำหรับถวายพระอันดับ ๒๒ ที่ โดยมากนิยมนิมนต์พระในพิธีบวช ๒๕ รูป พร้อมทั้งพระอุปัชฌาย์และคู่สวด
นาคจะต้องเตรียมท่องคำขานนาคให้ได้ การฝึกซ้อมการขานนาคมีสองแบบคือ แบบเก่าและแบบใหม่ แบบเก่าควรปฏิบัติ ดังนี้

ก่อนจะเข้าไปหาพระสงฆ์ทำพิธีบวช นาคจะนั่งอยู่แถวผนังโบสถ์ ด้านหน้าตรงกับพระประธาน เมื่อได้เวลาพ่อแม่พร้อมญาติ จะมอบผ้าไตรให้นาค โดยหยิบผ้าไตรจากพานแว่นฟ้า หากมีดอกไม้สดหุ้มไตรต้องหยิบมาด้วย นาคจะได้นำไปถวายพร้อมผ้าไตร เพื่อจะนำไปบูชาพระประธาน หากเป็นดอกไม้แห้งควรหยิบถอดออกไปเหลือแต่ผ้าไตรอย่างเดียว พ่อแม่จับผ้าไตรด้วยกันนั่งอยู่หน้านาค ส่วนนาคต้องนั่งคุกเข่ากราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วยื่นแขนออกไปรับไตรจีวร พ่อแม่วางให้บนท่อนแขน แล้วควรหลีกออกไปสองข้าง นาคอุ้มผ้าไตรไปหาพระอุปัชฌาย์ พอใกล้ที่นั่งสงฆ์ต้องทรุดตัวลงนั่งแล้วเดินเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ ประเคนผ้าไตรให้ท่านแล้ว คอยเอี้ยวตัวมาทางขวามือรับเครื่องสักการะทุกอย่างถวายพระอุปัชฌาย์ แล้วกราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง พระอุปัชฌาย์จะมอบผ้าไตรให้นาครับแล้วลุกขึ้นยืนก้มตัวพองามเตรียมว่าคำขานนาค ดังนี้

อุกาส วันฺทามิ ภนฺเต , สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต มยา กตํ ปุญญํ สามินา อนุโมทิตพฺพํ , สามินา กตํ ปญญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ สาธุ สาธุ อุนุโมทามิ ,
อุกาส การุญฺญํ กตฺวา ปพฺพชฺชํ เทถ เม ภนฺเต (นั่งคุกเข่าลงว่า) อหํ ภนฺเต ปพฺพชฺชํ ยาจามิ
ทุติยมฺปิ อหํ ภนฺเต ปพฺพชฺชํ ยาจามิ
ตติยมฺปิ อหํ ภนฺเต ปพฺพชฺชํ ยาจามิ
สพฺพทุกฺขนิสฺสรณ นิพฺพานสจฺฉิกรณตฺ ถาย , อิมํ กาสาวํ คเหตฺวา ปพฺพาเชถ มํ ภนฺเต , อนุกมฺปํ อุปาทาย (ว่าสามหน)

จบแล้วน้อมถวายผ้าไตรให้กับพระอุปัชฌาย์ และกล่าวคำขอผ้าต่อไปว่า
สพฺพทุกฺขนิสสรณ นิพฺพานสจฺฉิกรณตฺถาย , เอตํ กาสาวํ ทตฺวา ปพฺพา เชถ มํ ภนฺเต อมุกมฺปํ อุปาทาย (ว่าสามหน)

จบแล้วกราบสามครั้ง ลงนั่งพับเพียบประนมมือฟังโอวาทจากพระอุปัชฌาย์ต่อไป จนกระทั่งสอนกัมมัฏฐาน นาคคอยว่าตามว่า
เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ (เป็นอนุโลม)
ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา (เป็นปฏิโลม)

เมื่อสอนกัมมัฏฐานเสร็จแล้ว จะมอบผ้าไตรให้ไปห่ม ถึงตอนนี้ท่านจะบอกให้นาคลุกขึ้นนั่งคุกเข่า หากสวมเสื้อคลุมไว้ หรือสวมเครื่องประดับต่าง ๆ หรือผ้าสไบเฉียงไว้ ท่านจะให้ถอดออก แล้วท่านจะคล้องอังสะให้ นาคต้องก้มศีรษะเตรียมให้ท่านสวม เสร็จแล้วคอยรับผ้าไตรที่ท่านจะมอบให้ไปห่มอุ้มไว้ แล้วถอยออกมาให้พ้นพระสงฆ์ก่อนจึงลุกขึ้นเดินตามพระสงฆ์ที่ท่านให้ไปช่วยห่อผ้าให้

เมื่อห่มผ้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์จะพามานั่งหน้าพระคู่สวดที่จะให้ศีล นั่งคุกเข่าข้างหน้าปูผ้ากราบไว้แล้วรับเครื่องสักการะประเคนท่าน กราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วลุกขึ้นยืน ก้มตัวลงเล็กน้อย กล่าวคำขอศีล ดังนี้

อุกาส วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต , มยา ภตํ ปญฺญํ สามินา อมุโมทิตพฺพํ , สามินา กตํ ปุญฺญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ , สาธุ สาธุ อนุโมทานิ ,
อุกาส การุญฺญํ กตฺวา ติสรเณน สห สีลานิ เทถ เม ภนฺเต
แล้วนั่งคุกเข่าว่า อหํ ภนฺเต สรณสีลํ ยาจามิ
ทุติยมฺปิ อหํ ภนฺเต สรณสีลํ ยาจามิ
ตติยมฺปิ อหํ ภนฺเต สรณสีลัง ยาจามิ
นโม ตสฺส ภควาโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (สามหน) นาคว่าตามแล้วพระอาจารย์จะบอกว่า ยมหํ วทามิ ตํ วเทหิ นาครับว่า อาม ภนฺเต แล้วพระอาจารย์จะให้ไตรสรณาคมน์ นาคว่าตามท่านทีละวรรค ดังนี้ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆงฺ สรณํ คจฺฉามิ
ทุติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยมฺป สงฺฆงฺ สรณํ คจฺฉามิ
ตติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ตติยมฺปิ สงฺฆงฺ สรณํ คจฺฉามิ

จบแล้วพระอาจารย์ถามว่า ติสรณคมนํ นิฏฐิตํ นาครับว่า อาม ภนฺเต แล้วพระอาจารย์จะให้ศีลสิบต่อไปทีละสิกขาบท นาครับว่าตามทีละสิกขาบท ดังนี้

ปาณาติปาตา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
อทินฺนา ทานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
อพฺรหมฺ จริยา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
มุสาวาทา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
วิกาลโภชนา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺนา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
มาลาคนฺธวิเลปน ธารณ มณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
อุจ จา สยนมหา สยนา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
ชาตรูป รชต ปฏิคฺคหณา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ
อิมานิ ทส สิกฺขาปทานิ สมาทิยามิ นาคว่าสามครั้ง แล้วกราบหนึ่งครั้ง จากนั้นลุกขึ้นยืนว่า อุกาส วนฺทามิ ภนฺเต , สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต , มยา กตํ ปุญฺญํ สามินา อนุโมทิตพฺพํ , สามินา กตํ ปุญฺญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ , สาธุ สาธุ อนุโมทามิ แล้วนั่งลงกราบสามครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีบรรพชาเป็นสามเณร

ต่อจากนั้นนาคจะคอยรับประเคนบาตร พร้อมทั้งดอกบัวธูปเทียนหนึ่งกำ ซึ่งเตรียมใส่ไว้คู่กับบาตรจากพ่อแม่ เมื่อจะรับประเคนต้องปูผ้ากราบข้างหน้า พ่อแม่จะวางแล้วนาคอุ้มบาตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ เพื่อขอนิสสัยไปถวายบาตรแล้วคอยรับพานเทียนแพถวายพระอุปัชฌาย์ด้วย แล้วกราบสามครั้ง ลุกขึ้นยืนว่า

อุกาส วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต , มยา กตํ มยฺหํ ทาตพฺพํ , สาธุ สาธุ อนุโมทามิ , อุกาส การุญฺญํ กตฺวา นิสสยํ เทถ เม ภนฺเต , นั่งลงว่า อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ
ทุติยมฺปิ อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ
ตติยมฺปิ อหํ ภนฺเต นิสฺสยํ ยาจามิ
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า ปฏิรูปํ นาครับว่า สาธุ ภนฺเต
พระอุปัชฌายฺกล่าวว่า โอปายิกํ นาครับว่า สาธุ ภนฺเต
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า ปาสาทิเกน สมฺปาเทหิ นาครับว่า สาธุ ภนฺเต

นาคว่าต่อ อชฺชตคฺเคทานิ เถโร มยฺหํ ภาโร อหมฺปิ เถรสฺส ภาโร ว่าสามครั้ง แล้วกราบลงหนึ่งครั้ง จากนั้นนั่งลงฟังพระอุปัชฌาย์ให้โอวาทต่อไป จนกระทั่งท่านตั้งชื่อฉายาว่าอะไร และบอกชื่อของท่าน เมื่อคู่สวดสอบถามว่า กินฺนาโมสิ แปลว่า ท่านชื่ออะไร
ให้นาคตอบว่า อหํ ภนฺเต ติกฺขวีโร นาม ชื่อนาค
นาคอยรับตอบท่านว่า อาม ภนฺเต

เมื่อคู่สวดถามว่า โก นาม เต อุปชฺฌาโย แปลว่า อุปัชฌาย์ของท่านชื่อ อะไร
ให้นาคตอบว่า อุปัชฌาย์โย เม ภนฺเต อายสฺมา ปภสฺสโร นาม ชื่ออุปัชฌาย์
นาคคอยรับตอบท่านว่า อาม ภนฺเต

ต่อจากนั้น พระอุปัชฌาย์จะบอกชื่อบริขารให้นาค นาคต้องคอยรับว่า อาม ภนฺเต ทุกครั้ง เช่น พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า อยนฺเต ปตฺโต นาครับว่า อาม ภนฺเต
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า อยํ สงฺฆาฏิ นาครับว่า อาม ภนฺเต
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า อยํ อุตฺตราสงฺโค นาครับว่า อาม ภนฺเต
พระอุปัชฌาย์กล่าวว่า อยํ อนฺตรวสโก นาครับว่า อาม ภนฺเต

แล้วพระอุปัชฌาย์จะบอกต่อไปว่า คจฺฉ อมมฺหิ โอกาเส ติฏฐาหิ นาคไม่ต้องกล่าวอะไร แต่ให้ค่อย ๆ ถอยออกมา พอพ้นพระสงฆ์จึงลุกขึ้นเดินไปยังผนังโบสถ์ด้านหน้า อ้อมเสื่อที่ปูไว้ให้พระคู่สวดยืน ยืนประนมมือ หันหน้ามาทางพระสงฆ์

ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะเริ่มสวดกรรมวาจาญัตติ ชาวบ้านที่มาร่วมในงานต้องนั่งอยู่กับที่ ห่างจากพระสงฆ์สองศอกขึ้นไป

เมื่อพระคู่สวด สวดสมุมติ เป็นผู้สอบถามแล้ว จะออกไปยืนสวดบนเสื่อที่ปูไว้หน้านาคจนถึงคำว่า กุฏฺฐํ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
คณฺโฑ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
กิลา นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
โสโส นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
อปมาโร นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
มนุสฺโสสิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
ปุริโสสิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
ภุชิโสสิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
อนโสสิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
นสิ ราชภโฏ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
อนุญฺญาโตสิ มาตาปิตุหิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
ปริปุณณนฺเต ปตฺตาจีวรํ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต
กินนาโมสิ นาครับว่า นตฺถิ ภนฺเต

จากนั้น พระคู่สวดจะสั่งให้นาครออยู่ตรงนี้ก่อน ท่านจะกลับไปที่ประชุมสงฆ์ เมื่อท่านกลับไปสวดกรรมวาจาในที่ประชุมสงฆ์จนถึงคำว่า อาคจฺฉาหิ ท่านจะกวักมือเรียก นาคจะต้องเข้าไปโดยอ้อมเสื่อที่ปูไว้ พอไปใกล้พระสงฆ์แล้วนั่งคุกเข่าลง กราบเบญจางคประดิษฐ์ พระสงฆ์ซ้ายขวาสามครั้ง พระสงฆ์นั่งอันดับ จะคอยจับบาตรให้ แล้วนั่งคุกเข่า กล่าวคำขออุปสมบท ดังนี้ สงฺฆมฺ ภนฺเต อุปสมฺปทํ ยาจามิ อุลลุมฺปตุ มํ ภนฺเต สงฺโฆ อนุกมฺปํ อุปาทาย
ทุติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ อุปสมฺปทํ ยาจามิ อุลลุมฺปตุ มํ ภนฺเต สงฺโฆ อนุกมฺปํ อุปาทาย
ตติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ อุปสมฺปทํ ยาจามิ อุลลุมฺปตุ มํ ภนฺเต สงฺโฆ อนุกมฺปํ อุปาทาย
แล้วกราบลงหนึ่งครั้ง นั่งอยู่กับที่

พระอุปัชฌาย์ท่านจะกล่าวคำเผดียงสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์รับว่า สาธุ พร้อมกันแล้ว นาคจึงเดินเข้าไปนั่งในท่ามกลางสงฆ์ใกล้พระอาจารย์คู่สวด พระสงฆ์นั่งอันดับสองรูปริมสุด จะนั่งปิดหลังนาคทันที นาคนั่งคุกเข่าคอยฟังพระอาจารย์คู่สวด จะสวดสอบถามต่อไปเช่นเดียวกับตอนสวดสอบถามครั้งแรก นาคก็ตอบเช่นที่ตอบเมื่อตอนสวดสอบถามครั้งแรก จนถึงตอนสุดท้ายถามว่า โก นาม เต อุปชฺฌาโย นาคตอบ เช่น พระอุปัชฌาย์ มีฉายาว่า ปภสฺสโร ก็ตอบว่า อุปชฺฌาโย เม ภนฺเต อยสฺมา ปภสฺสโร นาม

ต่อจากนี้ พระอาจารย์คู่สวดจะสวดกรรมวาจา เป็นญัตติ จตุตถกรรมวาจา นาคต้องนั่งอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป พระอาจารย์จะสวดกรรมวาจาจนจบถึงสี่ครั้งจึงเป็นการเสร็จพิธี เมื่อเสร็จแล้ว พระใหม่ควรถอดถลกบาตรที่คล้องออกวางไว้ข้าง ๆ กราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วนั่งพับเพียบ ประนมมือคอยฟังพระอุปัชฌาย์ จะบอกสอนอนุศาสน์แปด เป็นภาษาไทยก่อน แล้วจะบอกเป็นภาษาบาลีว่า

อนุญฺญาสิ โข ภควา อุปสมฺปาเทตฺวา จตฺตาโร นิสฺสาย จตฺตาริ จ , อกรณียานิ อาวิกฺ ขิตุ ํ
(๑) ปิณฺฑิยาโลปโภชนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย อติเรกลาโภ สงฺฆภนฺตํ อุทฺเทสภตฺตํ นิมนฺตนํ สลากภตฺตํ ปกฺขิกํ อุโปสถิกํ ปาฏิปทิกํ ฯ
(๒) ปํสุกูลจีวรํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย อติเรกลาโภ เขมํ กปฺปาสิกํ โกเสยฺยํ กมฺพลํ สาณํ ภงฺคํ ฯ
(๓) รุกฺขมูลเสนาสนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย อติเรกลาโภ วิหาโร อฑฺฒโยโค ปาสาโท หมฺมิยํ คูหา ฯ
(๔) ปูติมุตฺต เภชสชฺชํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชํ ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย อติเรกลาโภ สปฺปิ นวนีตํ เตลํ มธุ ผาณิตํ ฯ
(๑) อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา เมถุโน ธมฺโม น ปฏิเสวิตพฺโพ อนฺตมโส ติรจฺฉานคตายปิ โย ภิกฺขุ เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวติ อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย เสยฺยถาปิ นาม ปริโส สีสจฺฉินฺโน อภพฺโพ เตนิ สรีรพนฺธเน ชีวิตุ ํ เอวเมว ภิกขุ เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวิตวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตติโย ตนฺเต ยาชีวํ อกรณียํ ฯ
(๒) อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา อทินฺนํ เถยยสงฺฆาตํ น อาทาตพฺพํ อนฺตมโส ติณสลากํ อุปาทาย โย ภิกฺขุ ปาทํ วา ปาทารหํ วา อติเรกปาทํ วา อทินฺนํ เถยฺยสงฺ ขาตํ อาทิยติ อสฺสมโณ โหติ อสกฺย ปตฺติโย เสยฺถาปิ นาม ปณฺฑุปลาโส พนฺธนา ปมุตฺโต อภพฺโพ หริตตตาย เอวเมว ภิกฺขุ ปาทํ วา ปาทารหํ วา อติเรกปาทํ วา อทินฺนํ เถยฺยสงฺฆาตํ อาทิยิตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺปุตฺตีโย ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ ฯ
(๓) อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา สญฺจิจจ ปาโณ น โวโรเปตพฺโพ อนฺตมโส กุนฺถกิปิลฺลิกํ อุปาทาย โย ภิกขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคคหํ ชีวิตา โวโรเปติ อนฺตมโส ตพฺภปาตนํ อุปาทาย อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย เสยฺยถาปิ นาม ปุถุสิลา ทฺวิธา ภินฺนา อปฺปฏิสนฺธิกา โหติ เอวเมว ภิกฺขุ สญฺจิจจ มนุสฺสวิคคหํ ชีวิตา โวโรเปตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตติโย ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ ฯ
(๔) อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา อุตฺตริมนุสฺสธมฺโม น อุลฺลปิตพฺโพ อนฺตมโส สุญญาคาเร อภิรมามติ โย ภิกฺขุ ปาปิจฺโฉ อิจฺฉาปกโต อสนฺตํ อภูตํ อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ อุลลปติ ฌานํ วา วิโมกฺขํ วา สมาธิ วา สมาปตฺตึ วา มคฺคํ วา ผลํ วา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตติโย เสยฺยถาปิ นาม ตาโล มตฺถกจฺฉินฺโน อภพฺโพ ปุนวิรุฬฺหิยา เอวเมว ภิกฺขุ ปาปิจฺโฉ อิจฺฉาปกโต อสนฺตํ อภูตํ อุตฺตริมนุสสธมฺมํ อุลฺลปิตวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตติโย ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียนฺติ
อเนกปริยาเยน โข ปน เตน ภควตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน สีลํ สมฺมทกฺขาตํ สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ยาวเทว ตสฺส มทนิมมทนสฺส ปิปาสวินยสฺส อาลยสมุคฺ ฆาตสฺส วฏฺฏปจฺเฉทสฺส ตณฺหกฺขยสฺส วิราคสฺส นิโรธสฺส นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย

ตตฺถ สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสฺสํสา ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ เสยฺยถีทํ กามาสวา ภวาสวา อวิชฺชาสวา ตสฺมาติห เต อิมสฺมึ ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย สกฺกจฺจํ อธิสีลสิกฺขา สิกฺขิตพฺพา อธิจิตฺตสิกฺขา สิกขิตพฺพา อธิปญฺญาสิกฺขา สิกฺขิตพฺพา ตตฺถ อปฺปมาเทน สมฺปาเทตพฺพํ ฯ
พระใหม่รับว่า อาม ภนฺเต แล้วลุกขึ้นนั่งคุกเข่ากราบสามครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีในการบวช

เตรียมตัวก่อนบวช

จุดนำพามาพบและเริ่มฝึกวิชาสามกับอาจารย์ภราดรภาพ....ชมรมนักปฏิบัติธรรมแห่งศินารา...ที่วัดผ่องพลอย กรุงเทพ ในกลางปี 2554..จำรุ่นไม่ได้.(ครั้งที่1)..ดูในเนตมาเจอเวป...ญาณทิพย์...น่าสนใจหลักการใช้ได้...แต่จำนวนจองวันดังกล่าวเต็ม...จะทำอย่างไร...โทรมาหาอาจารย์เลย...และบอกขอรับเป็นลูกศิษย์ด้วย…โดยเฉพาะการฝึกมโนยิธิเต็มกำลัง...ตามแนวเรายึดเลย...ประกอบกับฟังธรรมหลวงพ่อฤาษีลิงดำอยู่แล้ว...โทรติดอาจารย์ก็รับ...อารมณ์ดี...ใจดี...มีเสียงหัวเราะดังๆๆหลายครั้ง...ยินดีและก็มีความเป็นกันเอง...พรุ่งนี้ให้ลงชื่อได้เลย..(ผมทำการลักไก่แบบนั้นเอง ) ใจสั่งมา.

1.สนใจฝึกอบรมหลักสูตรแบบนี้อยู่เป็นทุนเป็นครั้งแรกที่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมธรรมแบบนี้...ได้นำผลไม้1-2ตะเข่งมอบให้ญาติธรรมที่ทำอาหารอยู่...โดยมีความตั้งใจนำมาให้ญาติธรรมทานที่ทานเจกัน...ในการปฎิบัติธรรมวันนั้นด้วย...คนมากเต็มศาลาชั้น2 ทุกท่านใส่ชุดขาว...ยิ้มทักทายกัน..นั้งสงบๆๆตามจุดๆๆ และก็อาจารย์ก็เรียกมาเปิดวิชาสามกับอาจารย์และครูบาอาจารย์อื่นๆที่ละคนๆๆๆผมก็ถูกเรียก...มาจุดตรงนี้...ที่อาจารย์ไม่รู้จักล้อมรอบ.

2.กลางปี54เป็นช่วงที่อะไรๆๆๆก็ไม่รู้...เข้ามามากในชีวิต...จนรู้เครียดๆมากทั้งงาน-ครอบครัว-และคุณพ่อก็ป่วยหนัก(บอกบุญให้คุณพ่อโมธนาก่อนบุญ)...

จุดเปลี่ยนเข้าหาทางดับทุกข์เข้าหาธรรม..”ไม่เห็นทุกข์ก็ไม่เห็นธรรมจริงๆ”ผมก็เข้ามาศึกษาแนวใดก่อนตรงกับเราหรือเปล่า...

ช่วงที่มาพบกับท่านภราดรภาพ....พบเรามีดอกไม้ดาวเรือง1 พวง
-ตอนเข้าไปหาท่านก็ถามว่า...ติดอะไรอยู่...ใจอยากจะบวชแต่เป็นหวงไปหมด...ไม่มีทางออกจริง...รักษาศิล5และคิดตายสม่ำเสมอ...กรรมเวรก็จะตามเรา...
-ท่านคิดการเข้าถึงโสดาบัน...ก็สวดบท...ในการเปิดวิชาสามที่ท่านนะนำ...ก็สงบๆๆๆๆ...ไม่มีอะไรที่เป็นฤทธิเดช...ออกมา
-ท่านก็บอกเทพที่รักษาคือ สมเด็จพระนเรศร , ผมสายของหลวงพ่อฤาษีลิงดำและลูกหลาน
- ปี2554ปลายๆปี ผมก็ตัดสินใจบวช โดยลาพักร้อน-ลากิจ แบบผสมกันไปประมาณ 20 กว่าวัน
ตามที่ท่านทัก ที่วัดพิชัยญาติการาม กรุงเทพโดยมีเจ้าคณะใหญ่หนกลางเป็นพระอุปชาบวชให้..สมใจ...ได้ถูกส่งให้ไปปฎิบัติธรรมสำหรับพระใหม่แนววิปัสสนากรรมฐานที่...สำนักปฎิบัติธรรมโมลี...จังหวัดนครราชสีมา ทางขึ้นเขาใหญ่กว่า 15 วัน"คำว่าเห็นได้ด้วยตนเอง" เกิดที่นี้เป็นครั้งแรก...จะมาเล่าต่อนะครับ

*********************
เครื่องอัฏฐบริขารและเครื่องใช้อื่นๆ ที่ควรมีหรือจำเป็นต้องใช้ได้แก่
๑.ไตรครอง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑
๒.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา ถลกบาตร สายโยค ถุง ตะเคียว
๓.มีดโกน พร้อมทั้งหินลับมีดโกน
๔.เข็มเย็บผ้า พร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย
๕.เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก)
๖.เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง
๗.จีวร สบง อังสะ ผ้าอาบ ๒ ผืน (อาศัย)
๘.ตาลปัตร ย่าม ผ้าเช็ดหน้า ร่ม รองเท้า
๙.โคมไฟฟ้า หรือตะเกียง ไฟฉาย นาฬิกาปลุก
๑๐.สำรับ ปิ่นโต คาว หวาน จานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ
๑๑.ที่ต้มน้ำ กาต้มน้ำ กาชงน้ำร้อน ถ้วยน้ำร้อน เหยือกน้ำและแก้วน้ำเย็น กระติกน้ำแข็ง กระติกน้ำร้อน
๑๒.กระโถนบ้วน กระโถนถ่าย
๑๓.ขันอาบน้ำ สบู่และกล่องสบู่ แปรงและยาสีฟัน ผ้าขนหนู กระดาษชำระ
๑๔.สันถัต (อาสนะ)
๑๕.หีบไม้หรือกระเป๋าหนังสำหรับเก็บไตรครอง

ข้อ ที่ ๑-๕ เรียกว่าอัฏฐบริขารซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดเสียมิได้ มีความหมายว่า บริขาร ๘ แบ่งเป็นผ้า ๕ อย่างคือ สบง ๑ ประคตเอว ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ากรองน้ำ ๑ และเหล็ก ๓ อย่างคือ บาตร ๑ มีดโกน ๑ เข็มเย็บผ้า ๑ นอกจากนั้นก็แล้วแต่ความจำเป็นในแต่ละแห่งและกำลังทรัพย์

ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ
๑.ไตรแบ่ง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑
๒.จีวร สบง อังสะ (อาศัยหรือสำรอง) และผ้าอาบ ๒ ผืน
๓.ย่าม ผ้าเช็ดหน้า นาฬิกา
๔.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา
๕.รองเท้า ร่ม
๖.ที่นอน เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง (อาจอาศัยของวัดก็ได้)
๗.จานข้าว ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดมือ ปิ่นโต กระโถน
๘.ขันน้ำ สบู่ กล่องสบู่ แปรง ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว
๙.ธูป เทียน ดอกไม้ (ใช้สำหรับบูชาพระรัตนตรัย)
๑๐.ธูป เทียน ดอกไม้ *(อาจใช้แบบเทียนแพรที่มีกรวยดอกไม้ก็ได้ เอาไว้ถวายพระอุปัชฌาย์ผู้ให้บวช)
*อาจจะเตรียมเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และพระในพิธีนั้นอีกรูปละหนึ่งชุดก็ได้ ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์และศรัทธา


คำขอขมาบิดา มารดา และญาติผู้ใหญ่เพื่อลาบวช

"กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทล่วงเกินท่านต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี ขอให้ท่านจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้านับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตราบเท่านิพพาน เทอญ"


การบวชนาคและแห่นาค
การจัดกระบวนแห่ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ

* หัวโต หรือห้วสิงโต (มีหรือไม่ก็ได้)
* แตร หรือ เถิดเทิง (มีหรือไม่ก็ได้)
* ของถวายพระอุปัชฌาย์ คู่สวด
* ไตรครอง ซึ่งมักจะอุ้มโดยมารดาหรือบุพการีของผู้บวช (มีสัปทนกั้น)
* ดอกบัว ๓ ดอก ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม ให้ผู้บวชพนมมือถือไว้ (มีสัปทนกั้น)
* บาตร และตาลปัตร จะถือและสะพายโดยบิดาของผู้บวช
* ของถวายพระอันดับ
* บริขารและเครื่องใช้อย่างอื่นของผู้บวช

เมื่อ จัดขบวนเรียบร้อยแล้วก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่พระอุโบสถ เวียนขวารอบนอกขันธสีมา จนครบ ๓ รอบ ก่อนจะเข้าโบสถ์ก็ต้องวันทาเสมาหน้าพระอุโบสถเสียก่อนว่า วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

วันเสาร์ที่26มีนาคม54ร่วมหล่อพระเจ้าตากที่วัดวัดพิชยญาติการาม

ระเบียบการปฏิบัติธรรมและสนทนาธรรม โดย แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม

--------------------------------------------------------------------------------


ระเบียบการปฏิบัติธรรมและสนทนาธรรม
โดย แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม

ณ วัดพิชยญาติการาม วรวิหาร
แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพฯ

1. จะต้องมาบวชพราหมณ์ นุ่งขาวห่มขาว ที่วัด
(บวชเช้าวันเสาร์-สึกลาวันอาทิตย์)
2. กรอบใบสมัครและรับหมายเลขที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ให้
ในเช้าวันเสาร์ไม่เกินเวลา 06.30 น.
3. รับชุดขาวพร้อมหนังสือสวดมนต์ได้ที่โต๊ะลงทะเบียน
(สำหรับเครื่องนอนจะแจกหลังทำวัตรเย็น)
4. ของใช้ส่วนตัว กรุณาจัดเตรียมมาเอง
5. ห้ามส่งเสียงดัง และกรุณาปิดโทรศัพท์มือถือ
ในขณะสวดมนต์ และในขณะที่แม่ชีสอนธรรมะ
6. รับประทานอาหารได้ที่โรงทาน ตั้งแต่เช้า-เที่ยงวัน
7. กรุณาช่วยกันรักษาความสะอาด ห้องน้ำ-ห้องนอน-โรงทาน-อุโบสถ
และบนพระปรางค์ (ห้ามนำอาหารไปทานโดยเด็ดขาด)
8. สึกในวันอาทิตย์ ก่อนสึกกรุณาช่วยทำความสะอาดห้องน้ำ-ห้องนอน
และบริเวณวัด เพื่อเป็นบุญกุศลแก่ตัวท่านเอง
9. ชุดขาว เครื่องนอน และหนังสือสวดมนต์ คืนได้ที่โต๊ะลงทะเบียน
10. วันโกน-วันพระ แม่ชีไม่รับเปิดกรรม

สำนักงานวัดพิชยญาติการาม วรวิหาร

โทรศัพท์ 02-861-4530, 02-861-5425, 02-8614319, 02-4384442,
02-861-4533, 02-5176377, 02-9188916, 01-6227499

สายรถเมลที่ผ่าน สาย 56, 542, 57



กำหนดการและตารางการปฏิบัติธรรม
ประจำวันเสาร์-วันอาทิตย์ ณ วัดพิชยญาติการาม

วันเสาร์

เวลา 06.00 - 08.00 น. - ลงทะเบียน รับชุดขาว รับประทานอาหารเช้า
เวลา 08.00 น. - พร้อมกัน ณ ศาลาปฏิบัติธรรม ทำวัตรเช้าโดยพร้อมเพรียงกัน
นำโดย : พระวิสุทธิธีรพงค์ หรือผู้ที่เจ้าอาวาสมอบหมาย
เวลา 08.45 น. - พิธีบวชเนกขัมมบารมี สมาทานศีล 8
เวลา 09.30 - 11.00 น. - สมาทานกรรมฐาน-ปฏิบัติกรรมฐาน
เวลา 11.00 - 13.00 น. - พักรับประทานอาหาร (ที่โรงทาน) พักผ่อนตามอัธยาศัย
เวลา 13.00 - 16.00 น. - บรรยายธรรม ถาม-ตอบปัญหา-กฎแห่งกรรม
โดย : แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม
เวลา 16.00 - 17.00 น. - พักดื่มน้ำปานะ พักผ่อนตามอัธยาศัย
เวลา 17.00 - 21.00 น. - ทำวัตรเย็น-ปฏิบัติกรรมฐาน
โดย : ผู้ที่เจ้าอาวาสมอบหมาย
เวลา 21.00 น. - พักผ่อน

วันอาทิตย์

เวลา 04.00 น. - สัญญาณระฆัง
เวลา 05.00 - 07.00 น. - ทำวัตรเช้า-ปฏิบัติกรรมฐาน
โดย : ผู้ที่เจ้าอาวาสมอบหมาย
เวลา 07.00 - 08.00 น. - รับประทานอาหารเช้า (ที่โรงทาน)
เวลา 08.00 - 09.00 น. - ฟังโอวาทเทศนา (หลวงพ่อเจ้าอาวาส)
เวลา 09.00 - 10.00 น. - ร่วมพิธีถวายสังฆทาน
โดย : แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม
เวลา 11.00 - 12.30 น. - พักรับประทานอาหาร (ที่โรงทาน)
เวลา 13.00 - 16.00 น. - บรรยายธรรม ถาม-ตอบปัญหากฎแห่งกรรม
โดย : แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม

หมายเหตุ : กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม)
เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม และเจ้าคณะภาค 1


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

พอดีว่าไปธุระที่วัดพิชยญาติการาม เลยถือโอกาสขอระเบียบการต่างๆ ของการปฏิบัติมาเพื่อนำมาบอกกล่าวผู้ที่สนใจจะปฏิบัติธรรมที่วัดพิชยญาติฯ ส่วนตัวไม่เคยไปปฏิบัติหรอกครับ แต่ก็อยากสนับสนุนให้ทุกได้มีโอกาสปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นแนวทางใดก็ตาม ขึ้นชื่อว่าการปฏิบัติธรรมเป็นของดีทั้งสิ้นแหละครับ จะดีมากดีน้อยก็ขึ้นอยู่กับครูบาอาจารย์ และตัวเราเองนะครับ


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *


_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"



สายลม
บัวเงิน



เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบเมื่อ: 05 ต.ค.2005, 5:57 pm

--------------------------------------------------------------------------------


แผนที่วัดพิชยญาติการาม

วัดพิชยญาติการาม อยู่ใกล้สะพานพุทธฯ, แถววงเวียนเล็ก, สะพานปกเกล้าฯ, ตรงข้ามกับโรงเรียนศึกษานารี ถ้ามาจากฝั่งพระนคร ข้ามสะพานทั้งสอง พอลงสะพาน สังเกตวัดจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ มีเจดีย์เป็นยอดพระปรางค์สีขาว นั่นแหละวัดพิชยญาติการาม

ถ้ามาจากวงเวียนใหญ่ วัดจะอยู่ด้านขวามือ ก่อนขึ้นสะพานพุทธฯ, สะพานปกเกล้าฯ ก็จะเห็นวัด ที่จริงคลองสาน หรือมาทางศิริราช ถนนอรุณอัมรินทร์ ก็ได้นะ

ได้ข่าวว่าที่วัดจะรับสมัครอบรมกรรมฐาน ในวันเสาร์อาทิตย์ (วันไม่ทราบ) ก็ดูกรรมก็จะมีกฎเกณฑ์คือ แม่ชีจะทำการเสี่ยงทาย โดยการหยิบหางเลขของผู้อบรม เพราะผู้ที่เข้าอบรมจะได้รับหมายเลข แม่ชีหยิบหมายเลขของผู้ใดก็จะให้แก่คนนั้น อาทิตย์หนึ่งก็ไม่ดูกี่คนเท่านั้น ส่วนคนที่พลาดโอกาสก็ต้องมีใหม่อาทิตย์หน้าและอาทิตย์ต่อๆๆ ไป

จะไม่มีการดูให้กับคนที่ไปนอกเวลาอบรม คือต้องไปสมัครอบรมกรรมฐานเท่านั้นจะมีสิทธิ์ได้ดู นะครับ (ได้ยินมา จริงเท็จอย่างไรก็เสี่ยงดูนะครับ)



* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

แผนที่วัดพิชยญาติการาม (เพิ่มเติม)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3993

เว็บไซต์วัดพิชยญาติการาม (วัดพิชัยญาติ)
http://www.phichaiyat.com/

เว็บไซต์แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม
http://www.thossaporn.com/

มุมปฎิบัติธรรมปลายเดือนมีนาคม 2554

แผนที่วัดพิชยญาติการาม (เพิ่มเติม)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3993

เว็บไซต์วัดพิชยญาติการาม (วัดพิชัยญาติ)
http://www.phichaiyat.com/

เว็บไซต์แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม
http://www.thossaporn.com/
กำหนดการและตารางการปฏิบัติธรรม
ประจำวันเสาร์-วันอาทิตย์ ณ วัดพิชยญาติการาม

วันเสาร์

เวลา 06.00 - 08.00 น. - ลงทะเบียน รับชุดขาว รับประทานอาหารเช้า
เวลา 08.00 น. - พร้อมกัน ณ ศาลาปฏิบัติธรรม ทำวัตรเช้าโดยพร้อมเพรียงกัน
นำโดย : พระวิสุทธิธีรพงค์ หรือผู้ที่เจ้าอาวาสมอบหมาย
เวลา 08.45 น. - พิธีบวชเนกขัมมบารมี สมาทานศีล 8
เวลา 09.30 - 11.00 น. - สมาทานกรรมฐาน-ปฏิบัติกรรมฐาน
เวลา 11.00 - 13.00 น. - พักรับประทานอาหาร (ที่โรงทาน) พักผ่อนตามอัธยาศัย
เวลา 13.00 - 16.00 น. - บรรยายธรรม ถาม-ตอบปัญหา-กฎแห่งกรรม
โดย : แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม
เวลา 16.00 - 17.00 น. - พักดื่มน้ำปานะ พักผ่อนตามอัธยาศัย
เวลา 17.00 - 21.00 น. - ทำวัตรเย็น-ปฏิบัติกรรมฐาน
โดย : ผู้ที่เจ้าอาวาสมอบหมาย
เวลา 21.00 น. - พักผ่อน

วันอาทิตย์

เวลา 04.00 น. - สัญญาณระฆัง
เวลา 05.00 - 07.00 น. - ทำวัตรเช้า-ปฏิบัติกรรมฐาน
โดย : ผู้ที่เจ้าอาวาสมอบหมาย
เวลา 07.00 - 08.00 น. - รับประทานอาหารเช้า (ที่โรงทาน)
เวลา 08.00 - 09.00 น. - ฟังโอวาทเทศนา (หลวงพ่อเจ้าอาวาส)
เวลา 09.00 - 10.00 น. - ร่วมพิธีถวายสังฆทาน
โดย : แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม
เวลา 11.00 - 12.30 น. - พักรับประทานอาหาร (ที่โรงทาน)
เวลา 13.00 - 16.00 น. - บรรยายธรรม ถาม-ตอบปัญหากฎแห่งกรรม
โดย : แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม

หมายเหตุ : กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
ระเบียบการปฏิบัติธรรมและสนทนาธรรม
โดย แม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์ธรรม

ณ วัดพิชยญาติการาม วรวิหาร
แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพฯ

1. จะต้องมาบวชพราหมณ์ นุ่งขาวห่มขาว ที่วัด
(บวชเช้าวันเสาร์-สึกลาวันอาทิตย์)
2. กรอบใบสมัครและรับหมายเลขที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ให้
ในเช้าวันเสาร์ไม่เกินเวลา 06.30 น.
3. รับชุดขาวพร้อมหนังสือสวดมนต์ได้ที่โต๊ะลงทะเบียน
(สำหรับเครื่องนอนจะแจกหลังทำวัตรเย็น)
4. ของใช้ส่วนตัว กรุณาจัดเตรียมมาเอง
5. ห้ามส่งเสียงดัง และกรุณาปิดโทรศัพท์มือถือ
ในขณะสวดมนต์ และในขณะที่แม่ชีสอนธรรมะ
6. รับประทานอาหารได้ที่โรงทาน ตั้งแต่เช้า-เที่ยงวัน
7. กรุณาช่วยกันรักษาความสะอาด ห้องน้ำ-ห้องนอน-โรงทาน-อุโบสถ
และบนพระปรางค์ (ห้ามนำอาหารไปทานโดยเด็ดขาด)
8. สึกในวันอาทิตย์ ก่อนสึกกรุณาช่วยทำความสะอาดห้องน้ำ-ห้องนอน
และบริเวณวัด เพื่อเป็นบุญกุศลแก่ตัวท่านเอง
9. ชุดขาว เครื่องนอน และหนังสือสวดมนต์ คืนได้ที่โต๊ะลงทะเบียน
10. วันโกน-วันพระ แม่ชีไม่รับเปิดกรรม

สำนักงานวัดพิชยญาติการาม วรวิหาร

โทรศัพท์ 02-861-4530, 02-861-5425, 02-8614319, 02-4384442,
02-861-4533, 02-5176377, 02-9188916, 01-6227499