วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

เตรียมตัวก่อนบวช

จุดนำพามาพบและเริ่มฝึกวิชาสามกับอาจารย์ภราดรภาพ....ชมรมนักปฏิบัติธรรมแห่งศินารา...ที่วัดผ่องพลอย กรุงเทพ ในกลางปี 2554..จำรุ่นไม่ได้.(ครั้งที่1)..ดูในเนตมาเจอเวป...ญาณทิพย์...น่าสนใจหลักการใช้ได้...แต่จำนวนจองวันดังกล่าวเต็ม...จะทำอย่างไร...โทรมาหาอาจารย์เลย...และบอกขอรับเป็นลูกศิษย์ด้วย…โดยเฉพาะการฝึกมโนยิธิเต็มกำลัง...ตามแนวเรายึดเลย...ประกอบกับฟังธรรมหลวงพ่อฤาษีลิงดำอยู่แล้ว...โทรติดอาจารย์ก็รับ...อารมณ์ดี...ใจดี...มีเสียงหัวเราะดังๆๆหลายครั้ง...ยินดีและก็มีความเป็นกันเอง...พรุ่งนี้ให้ลงชื่อได้เลย..(ผมทำการลักไก่แบบนั้นเอง ) ใจสั่งมา.

1.สนใจฝึกอบรมหลักสูตรแบบนี้อยู่เป็นทุนเป็นครั้งแรกที่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมธรรมแบบนี้...ได้นำผลไม้1-2ตะเข่งมอบให้ญาติธรรมที่ทำอาหารอยู่...โดยมีความตั้งใจนำมาให้ญาติธรรมทานที่ทานเจกัน...ในการปฎิบัติธรรมวันนั้นด้วย...คนมากเต็มศาลาชั้น2 ทุกท่านใส่ชุดขาว...ยิ้มทักทายกัน..นั้งสงบๆๆตามจุดๆๆ และก็อาจารย์ก็เรียกมาเปิดวิชาสามกับอาจารย์และครูบาอาจารย์อื่นๆที่ละคนๆๆๆผมก็ถูกเรียก...มาจุดตรงนี้...ที่อาจารย์ไม่รู้จักล้อมรอบ.

2.กลางปี54เป็นช่วงที่อะไรๆๆๆก็ไม่รู้...เข้ามามากในชีวิต...จนรู้เครียดๆมากทั้งงาน-ครอบครัว-และคุณพ่อก็ป่วยหนัก(บอกบุญให้คุณพ่อโมธนาก่อนบุญ)...

จุดเปลี่ยนเข้าหาทางดับทุกข์เข้าหาธรรม..”ไม่เห็นทุกข์ก็ไม่เห็นธรรมจริงๆ”ผมก็เข้ามาศึกษาแนวใดก่อนตรงกับเราหรือเปล่า...

ช่วงที่มาพบกับท่านภราดรภาพ....พบเรามีดอกไม้ดาวเรือง1 พวง
-ตอนเข้าไปหาท่านก็ถามว่า...ติดอะไรอยู่...ใจอยากจะบวชแต่เป็นหวงไปหมด...ไม่มีทางออกจริง...รักษาศิล5และคิดตายสม่ำเสมอ...กรรมเวรก็จะตามเรา...
-ท่านคิดการเข้าถึงโสดาบัน...ก็สวดบท...ในการเปิดวิชาสามที่ท่านนะนำ...ก็สงบๆๆๆๆ...ไม่มีอะไรที่เป็นฤทธิเดช...ออกมา
-ท่านก็บอกเทพที่รักษาคือ สมเด็จพระนเรศร , ผมสายของหลวงพ่อฤาษีลิงดำและลูกหลาน
- ปี2554ปลายๆปี ผมก็ตัดสินใจบวช โดยลาพักร้อน-ลากิจ แบบผสมกันไปประมาณ 20 กว่าวัน
ตามที่ท่านทัก ที่วัดพิชัยญาติการาม กรุงเทพโดยมีเจ้าคณะใหญ่หนกลางเป็นพระอุปชาบวชให้..สมใจ...ได้ถูกส่งให้ไปปฎิบัติธรรมสำหรับพระใหม่แนววิปัสสนากรรมฐานที่...สำนักปฎิบัติธรรมโมลี...จังหวัดนครราชสีมา ทางขึ้นเขาใหญ่กว่า 15 วัน"คำว่าเห็นได้ด้วยตนเอง" เกิดที่นี้เป็นครั้งแรก...จะมาเล่าต่อนะครับ

*********************
เครื่องอัฏฐบริขารและเครื่องใช้อื่นๆ ที่ควรมีหรือจำเป็นต้องใช้ได้แก่
๑.ไตรครอง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑
๒.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา ถลกบาตร สายโยค ถุง ตะเคียว
๓.มีดโกน พร้อมทั้งหินลับมีดโกน
๔.เข็มเย็บผ้า พร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย
๕.เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก)
๖.เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง
๗.จีวร สบง อังสะ ผ้าอาบ ๒ ผืน (อาศัย)
๘.ตาลปัตร ย่าม ผ้าเช็ดหน้า ร่ม รองเท้า
๙.โคมไฟฟ้า หรือตะเกียง ไฟฉาย นาฬิกาปลุก
๑๐.สำรับ ปิ่นโต คาว หวาน จานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ
๑๑.ที่ต้มน้ำ กาต้มน้ำ กาชงน้ำร้อน ถ้วยน้ำร้อน เหยือกน้ำและแก้วน้ำเย็น กระติกน้ำแข็ง กระติกน้ำร้อน
๑๒.กระโถนบ้วน กระโถนถ่าย
๑๓.ขันอาบน้ำ สบู่และกล่องสบู่ แปรงและยาสีฟัน ผ้าขนหนู กระดาษชำระ
๑๔.สันถัต (อาสนะ)
๑๕.หีบไม้หรือกระเป๋าหนังสำหรับเก็บไตรครอง

ข้อ ที่ ๑-๕ เรียกว่าอัฏฐบริขารซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดเสียมิได้ มีความหมายว่า บริขาร ๘ แบ่งเป็นผ้า ๕ อย่างคือ สบง ๑ ประคตเอว ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ากรองน้ำ ๑ และเหล็ก ๓ อย่างคือ บาตร ๑ มีดโกน ๑ เข็มเย็บผ้า ๑ นอกจากนั้นก็แล้วแต่ความจำเป็นในแต่ละแห่งและกำลังทรัพย์

ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ
๑.ไตรแบ่ง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑
๒.จีวร สบง อังสะ (อาศัยหรือสำรอง) และผ้าอาบ ๒ ผืน
๓.ย่าม ผ้าเช็ดหน้า นาฬิกา
๔.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา
๕.รองเท้า ร่ม
๖.ที่นอน เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง (อาจอาศัยของวัดก็ได้)
๗.จานข้าว ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดมือ ปิ่นโต กระโถน
๘.ขันน้ำ สบู่ กล่องสบู่ แปรง ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว
๙.ธูป เทียน ดอกไม้ (ใช้สำหรับบูชาพระรัตนตรัย)
๑๐.ธูป เทียน ดอกไม้ *(อาจใช้แบบเทียนแพรที่มีกรวยดอกไม้ก็ได้ เอาไว้ถวายพระอุปัชฌาย์ผู้ให้บวช)
*อาจจะเตรียมเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และพระในพิธีนั้นอีกรูปละหนึ่งชุดก็ได้ ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์และศรัทธา


คำขอขมาบิดา มารดา และญาติผู้ใหญ่เพื่อลาบวช

"กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทล่วงเกินท่านต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี ขอให้ท่านจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้านับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตราบเท่านิพพาน เทอญ"


การบวชนาคและแห่นาค
การจัดกระบวนแห่ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ

* หัวโต หรือห้วสิงโต (มีหรือไม่ก็ได้)
* แตร หรือ เถิดเทิง (มีหรือไม่ก็ได้)
* ของถวายพระอุปัชฌาย์ คู่สวด
* ไตรครอง ซึ่งมักจะอุ้มโดยมารดาหรือบุพการีของผู้บวช (มีสัปทนกั้น)
* ดอกบัว ๓ ดอก ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม ให้ผู้บวชพนมมือถือไว้ (มีสัปทนกั้น)
* บาตร และตาลปัตร จะถือและสะพายโดยบิดาของผู้บวช
* ของถวายพระอันดับ
* บริขารและเครื่องใช้อย่างอื่นของผู้บวช

เมื่อ จัดขบวนเรียบร้อยแล้วก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่พระอุโบสถ เวียนขวารอบนอกขันธสีมา จนครบ ๓ รอบ ก่อนจะเข้าโบสถ์ก็ต้องวันทาเสมาหน้าพระอุโบสถเสียก่อนว่า วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น